มัสยิดกลางจังหวัดยะลา (Yala Central Mosque)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมืองเป็นมัสยิดใหญ่ประจำจังหวัดยะลา มัสยิดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สอดแทรกเส้นกรอบทรงสุเหร่าไว้ได้อย่างกลมกลืน ด้านหน้าเป็นบันไดกว้าง สูงประมาณ 30 ขั้น ทอดสู่ลานชั้นบน หลังคาทรงสี่เหลี่ยมมีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ยังมีโรงแรมที่พักในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง
หรือเรียกอีกอย่างว่า "วัดหน้าถ้ำ" เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าเขา" สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี พ.ศ. 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย ที่มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน
ตั้งอยู่ถนนพิพิธภักดี หน้าศาลากลางจังหวัดยะลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ภายในศาลประดิษฐานยอดเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 เซนติเมตร วัดโดยรอบที่ฐาน 43 นิ้ว ที่ปลาย 36 นิ้ว พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่น สวยงาม และจะมีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ระหว่างวันที่ 25–31 พฤษภาคม ของทุกปี
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตง
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เป็นพระธาตุเจดีย์แบบทวาราวดีศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ในตัวเมืองเบตง โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขา มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยในองค์มหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา
สวนขวัญเมือง (Khwan Muang Garden)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมืองตั้งอยู่ในเขตเทศบาล 1 ในเขตเทศบางเมืองยะลา ห่างจากศาลหลักเมืองยะลาประมาณ 300 เมตร เป็นสวนสาธารณะของเทศบาลเมืองยะลา พื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 207 ไร่ จุดเด่นอยู่ที่สระน้ำใหญ่เนื้อที่ 69 ไร่ พื้นที่โดยรอบเป็นหาดทรายและทิวสนจำลองทัศนียภาพของหาดทรายชายทะเลมาไว้ให้ชาวเมืองได้พักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากจังหวัดยะลา ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับชายทะเล นอกจากนี้ยังเป็นที่จัดกิจกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียง มีสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงที่ใหญ่และมีมาตรฐานที่สุดในภาคใต้
สวนสาธารณะสนามช้างเผือก (White Elephant Field Park)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมืองตั้งอยู่ที่ถนนพิพิธภักดี มีเนื้อที่ทั้งหมด 80 ไร่ เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือก "พระเศวตสุรคชาธาร" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2511 ภายในสวนสาธารณะมีศาลากลางน้ำรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของจังหวัด
สวนสาธารณะเทศบาลตำบลเบตง (Betong Municipality Park)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงหรือที่เรียกกันว่า "สวนสุดสยาม" ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ตั้งอยู่บนเนินเขากลางเมืองเบตง ประกอบด้วยสวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนนก สวนสุขภาพ สนามกีฬา สระว่ายน้ำ และสนามเด็กเล่น เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย หากเดินทางจากสวนสาธารณะเลยไปอีก 7 กิโลเมตรจนสุดถนนสุขยางค์จะถึงจุดใต้สุดของประเทศไทย ซึ่งมีถนนเชื่อมต่อไปยังประเทศมาเลเซีย
ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางยะลา-โกตาบารู เลี้ยวเข้าตำบลโกตาบารู ถึงตำบลท่าเรือประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าถนนหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าน้ำตก เข้าไปประมาณ 500 เมตร น้ำตกตะวันรัศมีเป็นน้ำตกที่สวยงามแตกต่างจากน้ำตกอื่น ๆ เพราะเมื่อแสงแดดกระทบกับสายน้ำ จะทำให้สีของหินใต้แอ่งน้ำเป็นสีเหลืองสวยงาม
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตา
หรือเรียกอีกอย่างว่า "น้ำตกกือลอง" ตั้งอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ บนเขาปกโยะ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 40 กิโลเมตร จากนั้นเจอแยกซ้ายเลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร น้ำตกนี้ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2507 มีทั้งหมด 5 ชั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระราชทานนามน้ำตกแห่งนี้ว่า "น้ำตกสุขทาลัย" เป็นน้ำตกที่มีทัศนียภาพสวยงาม และมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้
เขื่อนบางลาง (Bang Lang Dam)
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตาตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากตำบลบาเจาะไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง ประกอบพิธีเปิดเขื่อน บางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524 บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร. 0 7329 9237-8 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. 0 7328 1063-66 ต่อ 2291
ถ้ำกระแชง (Krachaeng Cave)
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตาตั้งอยู่ที่บ้านกาโสด ตำบลบันนังสตา ห่างจากจังหวัดยะลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร เลยแยกปากทางเข้าเขื่อนบางลางไปเล็กน้อย แล้วแยกซ้ายเข้าไปตามทางลูกรังอีก 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพของภูเขา ธารน้ำและถ้ำลอดที่สวยงาม ในช่วงที่น้ำน้อยสามารถเดินเลาะเลียบตามลำธารลอดถ้ำไปทะลุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นที่โล่ง โอบล้อมด้วยภูเขาและแมกไม้เขียวขจี มีทัศนียภาพสวยงาม
สถานที่ตั้ง : อำเภอธารโต
น้ำตกธารโต อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ยังมีโรงแรมที่พักในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
สถานที่ตั้ง : อำเภอธารโต
เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ระหว่าง เขตติดต่ออำเภอธารโต และอำเภอเบตง ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ 90 กิโลเมตร ใช้เส้นทางยะลา-เบตง ถนนลาดยางตลอด ก่อนถึงอำเภอเบตงประมาณ 40 กิโลเมตร จะมีถนนดินแยกเข้าน้ำตก ประมาณ 100 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีความงดงามเกิดจากละอองน้ำตกกระทบแสงแดดมองเห็นเป็นสีรุ้ง อยู่เบื้องล่างริมภูผามีความร่มรื่นตลอดทั้งวัน
น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (Chaloem Phra Kiat Ro Kao waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง ใช้เส้นทางหมายเลข 410 ระหว่างอำเภอธารโตและอำเภอเบตง แยกขวาช่วงกิโลเมตร 32-33 ไปตามทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงกว่า 30 เมตร รอบบริเวณปกคลุมไปด้วยพรรณไม้เขียวขจี
น้ำตกอินทสร (Inthasorn Waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงอยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและมีบริเวณที่ให้พักผ่อนได้เช่นกัน
ป่าบาลา-ฮาลา (Bala-Hala Forest)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงเป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ สัตว์ป่าและนกหายากนานาชนิด และเป็นที่อาศัยของคนป่าเผ่าซาไก มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในแนวรอยต่อระหว่างจังหวัดยะลาและนราธิวาส เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำในเขื่อนบางลาง นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมธรรมชาติของขุนเขา ป่าไม้และสายน้ำ โดยติดต่อเช่าเรือได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 ถนนสุขยางค์ อำเภอเบตง
อยู่ที่บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนและน้ำตกอินทสร แต่อยู่เลยบ่อน้ำร้อนไปอีก 4 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2) อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นอุโมงค์คดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 1 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 50-60 ฟุต ใช้เวลาในการขุด 3 เดือน มีทางเข้าออกหลายทาง ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศและสะสมเสบียง บริเวณนี้จัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตภายในป่า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งของเบตง เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 -16.30 น.
ฝูงนกนางแอ่น (The Swift)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงยามพลบค่ำบนท้องฟ้าในย่านชุมชนกลางเมืองเบตง จะเต็มไปด้วยนกนางแอ่นที่บินมาอาศัยหลับนอนเกาะอยู่ตามอาคารบ้านเรือนและสายไฟฟ้าอยู่มากมาย โดยเฉพาะที่บริเวณหอนาฬิกาซึ่งประดับด้วยไฟฟ้าสว่างไสวตลอดคืน ซึ่งจะมีนกหนาแน่นเป็นพิเศษ เป็นภาพที่น่าอัศจรรย์และเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเบตง นกนางแอ่นเหล่านี้อพยพหนีความหนาวมาจากไซบีเรีย จะพบเห็นเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตง
บ่อน้ำร้อนเบตง อยู่ที่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง ห่างจากจังหวัดยะลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 แล้วแยกไปตามทางลาดยางอีกประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ความร้อนของน้ำสามารถต้มไข่ให้สุกได้ภายในเวลา 7 นาที ประชาชนและผู้เยี่ยมเยือนนิยมมาอาบน้ำแร่ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้สุขภาพดีและรักษาอาการปวดตามร่างกายได้
ตั้งหมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "เงาะซาไก" เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่และมุงหลังคาจาก ต่อมากรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า "ศรีธารโต" ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
หอนาฬิกา (The clock Tower)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตงอยู่ที่บริเวณสี่แยกใจกลางเมืองเบตง เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง สร้างด้วยหินอ่อนที่สวยงาม นอกจากนี้ยังมีโรงแรมที่พักในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
"เบตง" เป็นภาษามลายู หมายถึง ไม้ไผ่ ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย ห่างจากจังหวัดยะลาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร โดยเฉพาะเส้นทางช่วงระหว่างอำเภอธารโต-เบตง เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบ ป่าไม้และสวนยาง ตัวเมืองเบตงตั้งอยู่ในโอบล้อมของขุนเขาอากาศเย็นสบาย มีฝนตกชุก และมักมีหมอกปกคลุมในยามเช้า จนได้รับสมญานามว่า "เมืองในหมอก ดอกไม้งาม" เป็นอำเภอใหญ่ที่มีความเจริญ ชาวมาเลเซียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกตัวเมืองมากมาย
ขอบคุณข้อมูล
http://www.sawadee.co.th/thai/yala/attractions.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น