koy

koy

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เยาวชนกับประชาธิปไตย

เยาวชนกับประชาธิปไตย


นับตั้งแต่ ลืมตาขึ้นมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของโลก ยุวชน หรือ เยาวชน จะต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ มากมายโดยที่ตัวของเยาวชนเองยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านั้นมีความหมายและมีคุณค่าอะไรต่อชีวิตของตัวเองบ้าง
เริ่มตั้งแต่วินาทีที่คลอดจากครรภ์มารดา เจ้าของชีวิตจะต้องอาศัยการเลี้ยงดูจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา และอาจจะรวมถึงเพื่อนบ้านอีกมากหน้าหลายตา นอกจากนี้ ยังต้องเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองในด้านอื่นๆ อีก เช่น พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครอง จะต้องแจ้งเกิดให้อำเภอทราบ จะต้องเกี่ยวข้องกับตลาดในเรื่องอาหารการกิน จะต้องเกี่ยวข้องกับหมอในเรื่องการรักษายามเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องเกี่ยวข้องกับข่าวสารและสาระบันเทิงจากโทรทัศน์ วิทยุ เทป ซีดี รวมไปถึงหนังสือต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมรอบตัวไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว นก ปลา เป็นต้น ยังจะเกี่ยวข้องกับต้นไม้ ร่มไม้ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมรอบตัวอีกด้วย เมื่อเริ่มเติบโตขึ้นก็ต้องเข้าสู่การเรียนรู้จากระบบโรงเรียน มีครูเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตในฐานะ  ผู้คอยอบรมสั่งสอนให้วิชาความรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น การฝึกหัดเขียนหนังสือ การฝึกอ่านหนังสือให้ถูกต้อง การรู้จักระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนและคุณครูที่โรงเรียน ตลอดจน คนอื่นๆ ในครอบครัว ชุมชน และสังคม  ขยายวงออกไปเรื่อย ๆ ตามวันเวลาที่เยาวชนคนนั้น ๆ เติบโตขึ้น

                    หากชีวิตของเยาวชนแต่ละคนได้เริ่มต้นตามที่กล่าวมา เราอาจกล่าวได้ว่าเยาวชนได้มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาตั้งแต่ตัวเยาวชนเองไม่รู้ตัวจนเริ่มต้นได้เรียนรู้และซึมซับวิถีแห่งประชาธิปไตยโดยลำดับ

          อาจมีคำถามว่า เยาวชนเกี่ยวข้องและเรียนรู้หลักประชาธิปไตยได้อย่างไร ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องของเด็กไม่ใช่หรือ ? แล้วเด็กๆ เยาวชนมาเกี่ยวข้องและเรียนรู้หลักประชาธิปไตยจากใคร ? และตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

                    ถ้าจะพิจารณาความหมายของประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้แล้ว ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายแต่เพียงเรื่องระบบการปกครองเท่านั้น ประชาธิปไตย มีความหมายได้ทั้งระดับกว้างและความหมายเฉพาะ ความหมายกว้างและความหมายเฉพาะแตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร  ประเด็นนี้จะเป็นคำตอบว่า เยาวชนเกี่ยวข้องและเรียนรู้หลักประชาธิปไตยได้อย่างไร 
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความหมายทั้ง
2 ชนิดอย่างย่นย่อ

          ประชาธิปไตยในความหมายเฉพาะ หมายถึง การที่ประชาชนมีอำนาจปกครองตนเองได้  ซึ่งการปกครองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนี้จะถือเสียงข้างมาก หรือมติจากปวงชนเป็นใหญ่ เช่น ในการเลือกตั้ง ส.. หรือ ส.. ผู้ได้รับเลือกตั้งจะต้องมีคะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนเป็นส่วนใหญ่  หรือแม้แต่การจะก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ ที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของประชาชนโดยตรง รัฐก็จะต้องทำประชาพิจารณ์ หรือการฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนนั่นเอง

          ส่วนประชาธิปไตยในความหมายกว้างนั้น หมายถึงประชาธิปไตยที่เป็นวิถีชีวิตจริง ๆ ของประชาชน เช่น การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันทั้งในชีวิตประจำวันระหว่างเพื่อนกับเพื่อน หรือกับบุคคลอื่นๆ การเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดร่างกาย ชีวิต สิ่งของ ของผู้อื่นให้ความเคารพต่อกฎเกณฑ์ของสังคมทุกระดับ ไม่ยกพวกตีกัน ไม่แซงคิวผู้อื่นขณะขึ้นรถเมล์  ไม่คุยโทรศัพท์เสียงดังขณะชมภาพยนตร์อยู่ในโรง  การมีน้ำใจนักกีฬาต่อผู้อื่น รู้ผิด รู้ถูก รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย การมีจิตใจเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียงต่อผู้อื่น และการมีจิตสำนึกในกิจกรรมของส่วนรวม ช่วยกันพัฒนาครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ฯลฯ ของตนให้น่าอยู่และช่วยกันทำสิ่งเจริญให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตน

          จากความหมายของประชาธิปไตยที่กล่าวมาทั้ง 2ประเภท จะเห็นว่าชีวิตของเยาวชนนั้น ได้สัมผัสกับความเป็นประชาธิปไตยในระดับกว้างมาตั้งแต่เล็กซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้ประชาธิปไตยในความหมายเฉพาะที่ หมายถึง ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มีความเข้มแข็งเป็นจริงมากขึ้นเพราะประชาชนได้เรียนรู้ถึงสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ ความเสมอภาคของตนและของผู้อื่นอย่างสมดุล  ซึ่งทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ประชาธิปไตยจากทุกคนในครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณครูในโรงเรียน ตลอดจนเพื่อนร่วมสังคม

                    วิถีชีวิตประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในลักษณะค่อย ๆ เป็นเช่นนี้ จะทำให้เยาวชน เห็นคุณค่าและตระหนักว่าการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมระบอบประชาธิปไตยมีความหมายสำหรับทุก ๆ คน เพราะทุก ๆ คน มีสิทธิ์ มีส่วน มีเสรีภาพในการพัฒนาชีวิตของตน ให้เจริญก้าวหน้า และยังสามารถมีส่วนในการเข้าร่วมพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและโลกได้พร้อม ๆ กัน หากเยาวชนมีความรู้เข้าใจและดำเนินชีวิตด้วยหลักการประชาธิปไตยตามที่กล่าวมา  โลกทั้งโลกก็จะก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย
ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง



สุทิน  สุขดี

Suthin@hotmail.com                              





 http://www.oknation.net/blog/Selflessness/2009/10/14/entry-1

อบรมผู้นำเยาวชน ณ พัทยา

อบรมถอดบทเรียน ณ หาดใหญ่

น้องชายสุดที่รัก

ที่สุดของไทยใน 3 จังหวัดภาคใต้


 ที่สุดของไทยใน 3 จังหวัดภาคใต้


ผังเมืองยะลา ที่สวยที่สุดในประเทศไทย ในกลางคือศาลหลักเมือง
1. เทศบาลเมืองจังหวัดยะลามีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดในประเทศไทย

2. พ.ศ. 2540 เทศบาลนครยะลาได้รับคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทยในโครงการเมืองน่าอยู่ทั่วโลก โดยได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งสวนหรือ Garden
3. เทศบาลนครยะลา จัดให้มีการแข่งขันนกกรงหัวจุกอาเซียน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มีนกกรงหัวจุกเข้าร่วมแข่งขันมากที่สุดในโลก 4,791 ตัว
สนามนกเขาชวาอาเซียน ตั้งภายใน สวนขวัญเมือง

สวนขวัญเมือง  เคยมีตำแหน่งสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
4. จังหวัดยะลายังมีสวนสาธารณะติดริมแม่น้ำปัตตานี  สวนศรีเมือง  ด้วยข้อด้อยของเมืองยะลาคือไม่ติดทะเลแต่เมืองยะลา ก็ขุดสระน้ำขนาดใหญ่เป็น100 ไร่ จนกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อหลาย 10 ปีที่แล้ว คือ สวนขวัญเมือง  และสวนสาธารณะน้องใหม่ล่าสุดก็คือ สวนมิ่งเมืองสวนสาธารณะใจกลางเมือง  ขวัญเมือง  ศรีเมือง  มิ่งเมือง
5. จังหวัดยะลามีคำขวัญที่สั้นที่สุดในประเทศไทย "
ใต้สุดสยาม  เมืองงามชายแดน"
6. ยะลายังเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่า สะอาดที่สุดในประเทศ ด้วยการชนะเลิศได้รับรางวัลพระราชทาน  3 ปีซ้อน

7. อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (เคย)เป็นที่ตั้งตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อให้เป็นลัญลักษณ์ของอำเภอเบตงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร
8. อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้ชื่อว่า "เมืองในหมอกและดอกไม้งาม" เป็นเมืองชายแดนที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เป็นจังหวัดชายแดนที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย

9. ป่าบาลา-ฮาลา หรือป่าพรหมจารี เป็นผืนป่าสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลือในแผ่นดินขวานทองนี้ มีพื้นที่ครอบคลุมสองจังหวัดคือ อำเภอสุคิริน อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส และอำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

10. ป่าพรุโต๊ะแดง อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นป่าพรุที่สมบูรณ์ผืนใหญ่ที่สุดของประเทศที่ยังเหลืออยู่ เป็นผืนสุดท้ายในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสามของโลกที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 165,000 ไร่ (เฉพาะพื้นที่อนุรักษ์) 


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
11. มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นับเป็นมัสยิดที่สวยงาม และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธา และเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย


ปืนใหญ่นางพญาตานี
12. ปืนใหญ่โบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ชื่อ "นางพญาตานี" ซึ่งได้รับมาจากเมืองปัตตานี และเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 9 มิถุนายน 2552 / 04:24
ขอบคุณที่มา
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1359825